วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง g , k , h . 我(wǒ)是(shì)班(bān)亚(yà) ฉันคือปัญญา

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ภาษาต่างประเทศ                                                                                 รายวิชา   14101
ชั้นประถมศึกษาปีที่  4                                         ภาคเรียนที่   2                                             ปีการศึกษา  2553
หน่วยการเรียนรู้ที่   7     เรื่อง    g , k , h . ()(shì)(bān)()      ฉันคือปัญญา                         เวลาเรียน   10  ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1      เรื่อง  เรียนรู้พินอินด้วยรูปภาพและพยัญชนะต้น                       เวลา  50  นาที
วันที่สอน  28  ตุลาคม พ.ศ.  2553                                                                             ครูผู้สอน  นางสาวณัฐสุดา  สักลอ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
1.  มาตรฐาน  /  ตัวชี้วัด
     มาตรฐาน ต .1.1    เข้าใจกระบวนการฟังและการอ่าน สามารถตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และนำความรู้มาใช้อย่างมีวิจารณญาณ
ตัวชี้วัด
     ต .1.1    ป. 4/2   อ่านออกเสียงคำ  สะกดคำ  อ่านกลุ่มคำประโยค  ข้อความง่ายๆ และบทพูดเข้าจังหวะ ถูกต้อง
ตามหลักการอ่าน

สาระสำคัญ  การเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับท่าทางกริยาต่างๆที่แสดงออกถึงความรู้สึกและแสดงออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้ และการฝึกหัดการประสมเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการพูดและให้ข้อมูลอย่างถูกต้อง รวมไปถึงได้พัฒนาทักษะในการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีนให้คล่องแคล่วและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.  นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงพยัญชนะต้น  g , k , h .  ตามหลักภาษาจีนกลางเบื้องต้นได้    (  K  )
2.  นักเรียนสามารถพูด อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น  g , k , h . ตามหลักการอ่านออกเสียงภาษาจีนเบื้องได้อย่างถูกต้อง
      และชัดเจน  (  P )
3.  นักเรียนปฏิบัติตามระเบียบการสอน และไม่ลอกการบ้าน  (  A  )

สาระการเรียนรู้
       ด้านความรู้  การเรียนรู้ภาษาจีนเบื้องต้นเกี่ยวกับพยัญชนะต้นนั้นได้ฝึกทักษะการอ่านออกเสียงพยัญชนะต้นอย่างถูกวิธีเพราะพยัญชนะต้นแต่ละคำนั้นเสียงที่เปล่งออกมาจะไม่เหมือนกัน เช่นพยัญชนะต้นคำว่า  g , k  , h . นั้นเสียงที่เปล่งออกมาจะออกมาทางช่องของลำคอ และเมื่อมีทักษะในการอ่านออกเสียงที่ถูกต้องแล้วการสื่อความหมายหรือการบอกความหมายเกี่ยวกับรูปภาพ หรือข้อมูลต่างๆย่อมชัดเจน และเป็นที่เข้าใจต่อผู้ที่สื่อสาร


      ทักษะ /  การบวนการ   เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการและที่มาของการอ่านออกเสียงพยัญชนะต้น g , k  , h .นักเรียนก็จะเข้าใจและมีทักษะในการอ่านออกเสียงพยัญชนะต้นได้อย่างถูกต้องและชัดเจนเมื่อมีทักษะการอ่านออกเสียงอย่างถูกต้องแล้วการติดต่อสื่อสารกับผู้คนหรือบอกความต้องการต่างๆย่อมเป็นที่เข้าใจต่อผู้ส่งสารและผู้รับสาร


      คุณลักษณะอันพึงประสงค์   ความสนใจใฝ่รู้ ความรอบคอบ การร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นความมีเหตุผล และการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์




กิจกรรมการเรียนรู้ที่  1
1.   ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ( 10 )
      ครูทบทวน สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ภาษาจีนกลาง และคำศัพท์ที่เรียนผ่านมาในภาคเรียนที่หนึ่งอีกครั้ง โดยโดยครูอ่านออกเสียง เนื้อหาดังกล่าวแล้วให้นักเรียนอ่านตาม จากนั้นให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน และสุ่มให้นักเรียนอ่านเนื้อหาดังกล่าวเป็นรายบุคคล
A:  爸爸(bàba)妈妈(māmā)
B:  爸爸(bàba)妈妈(māmā)
…………………………………………………….
A:  清你们再读一遍(qīngnǐmenzàidúyībiàn)
B:  爸爸(bàba)妈妈(māmā)
…………………………………………………….
A:  ()()(rén)(de)(xué)(shēng)()
B:  ()(ba)()()
…………………………………………………….
  
  1.1    ครูได้อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาของบทดังกล่าว ว่าบทนี้จะเรียนเน้นเกี่ยวกับพยัญชนะต้นของภาษาจีนของคำว่า
 g ,k , h . และครูได้พูดคำว่า “ ()(hǎo)” กับนักเรียนและนักเรียนทักทายครูด้วยคำว่า “  (nín)(hǎo)    จากนั้นครูได้ชี้ตัวเองแล้วพูดว่า   ()(shì)()(lǎo) (shī)  (ฉันคือคุณครู หลี่ ) ครูได้พูดประโยคดังกล่าวซ้ำ 3 -5 รอบ เพื่อให้นักเรียนได้ซึมซับกับประโยค ()(shì) ….(ฉันคือ)

2.   ขั้นกิจกรรม   (  30 )
2.2   ครูได้สอนคำว่า  “ kě  “ hē   แสดงการ์ดพินอินและอธิบายความหมายเพื่อให้นักเรียนจดจำพยัญชนะพินอิน    g , k , h .   หลังจากนั้นครูอ่านนำ 2 ครั้งและให้นักเรียนอ่านตาม และตามด้วยให้นักเรียนอ่านตามทีละคน ในขณะที่นักเรียนอ่านออกเสียงอยู่นั้นครูได้เดินฟังและสังเกตการอ่านออกเสียงเมื่อนักเรียนอ่านออกเสียงผิดครูได้รีบแก้ไขทันที จากนั้นครูได้หยิบการ์ดพินอินให้นักเรียนนักเรียนดูและให้นักเรียนอ่านออกเสียงอีกครั้งเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน
ฝึกเสียววรรณยุกต์ 4 เสียง  (shēng)(diào)(liàn)()
                     
                                               
 gū             gŭ      
         
 kū              kŭ    
                                               
                                                 hā          há        hă      hà
                                               
     hū              hŭ        

2.3   ครูได้เน้นคำว่า   ()  เป็นเสียงที่ 1   คำว่า  ()   เป็นเสียงที่   3  คำว่า     ()  เป็นเสียงที่ 1  คำว่า  () เป็นเสียงที่1
และคำว่า   ()  เป็นเสียงที่ 3   (   เพราะเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกันนั้นความหมายย่อมแตกต่างกันไป   )
2.4   หลักจากอธิบายเสร็จแล้วครูได้อ่านนำพินอินภาษาจีนและภาษาจีนให้นักเรียนฟัง 3 ครั้งเพื่อให้นักเรียนซึมซับกับคำศัพท์ดังกล่าวจากนั้นครูให้นักเรียนอ่านตาม ตามด้วยอ่านเป็นกลุ่ม และอ่านด้วยตนเองตามลำดับ เมื่อนักเรียนสามารถอ่านทุกคำได้ถูกต้องชัดเจนแล้ว ก็ให้นักเรียนอ่านรวดเดียวทั้งหมดพร้อมกัน  ครูให้นักเรียนฝึกฝนอ่านหลายๆครั้งและในระหว่างที่นักเรียนฝึกฝนอยู่นั้น ครูได้อธิบายความหมายของคำเพื่อให้นักเรียนอ่านออกเสียงได้ถูกต้องอย่างชัดเจน



3.    ขั้นสรุปบทเรียน  (10 นาที)           
3.1   ครูและนักเรียนทบทวนเนื้อหาที่เรียนผ่านมาอีกครั้ง  โดยครูอ่านนำ 1 ครั้งและให้นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมกัน
และครูมอบหมายให้นักเรียนฝึกฝนการอ่านออกเสียงในครั้งนี้เป็นการบ้าน
                                                       
4.  ขั้นฝึกฝนทักษะ /  ภาระชิ้นงาน  / ชิ้นงาน
4.1    ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในหนังสือแบบฝึกหัดภาษาจีน

5.   สื่อ /  อุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้
1. การ์ดพินอิน g , k  , h.
2. การ์ดสระและเสียงวรรณยุกต์
                                3. การ์ดภาพตัวละคร   (bān)()    ปัญญา    ()(lóng)     ต้าหลง     ()()   ลี้ลี้    ()   (fēn)   เฟิน 
แหล่งเรียนรู้
1. อักษรอ่านภาษาจีนแต่ละตัว
2. ใบกิจกรรม
3. หนังสือเรียน
4. ห้องสมุด
5. Internet
6.   กระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ผลงาน / ชิ้นงาน
1.  ใบงาน เรื่อง วาดภาพให้สอดคล้องกับคำศัพท์ภาษาจีน

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ นางสาวณัฐสุดา สักลอ





ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

 

คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้วจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษหลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค


  
ยุคที่  1   (   พ.ศ.  2489  -   พ.ศ.  2501 )
เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปีจึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
  • ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
  • ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้นเริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน

ยุคที่  2   (   พ.ศ.  2502  -   พ.ศ.  2506 )
มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
  • ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
  • เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
  • มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
  • สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้





ยุคที่  3   (   พ.ศ.  2507  -   พ.ศ.  2512 )
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก 
                นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
  • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
  • ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที
                                                      (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
                                                       ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป

ยุคที่  4   (   พ.ศ.  2513  -   พ.ศ.  2532 )
เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้

แหล่งที่มา