วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง g , k , h . 我(wǒ)是(shì)班(bān)亚(yà) ฉันคือปัญญา

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ภาษาต่างประเทศ                                                                                 รายวิชา   14101
ชั้นประถมศึกษาปีที่  4                                         ภาคเรียนที่   2                                             ปีการศึกษา  2553
หน่วยการเรียนรู้ที่   7     เรื่อง    g , k , h . ()(shì)(bān)()      ฉันคือปัญญา                         เวลาเรียน   10  ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1      เรื่อง  เรียนรู้พินอินด้วยรูปภาพและพยัญชนะต้น                       เวลา  50  นาที
วันที่สอน  28  ตุลาคม พ.ศ.  2553                                                                             ครูผู้สอน  นางสาวณัฐสุดา  สักลอ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
1.  มาตรฐาน  /  ตัวชี้วัด
     มาตรฐาน ต .1.1    เข้าใจกระบวนการฟังและการอ่าน สามารถตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และนำความรู้มาใช้อย่างมีวิจารณญาณ
ตัวชี้วัด
     ต .1.1    ป. 4/2   อ่านออกเสียงคำ  สะกดคำ  อ่านกลุ่มคำประโยค  ข้อความง่ายๆ และบทพูดเข้าจังหวะ ถูกต้อง
ตามหลักการอ่าน

สาระสำคัญ  การเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับท่าทางกริยาต่างๆที่แสดงออกถึงความรู้สึกและแสดงออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้ และการฝึกหัดการประสมเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการพูดและให้ข้อมูลอย่างถูกต้อง รวมไปถึงได้พัฒนาทักษะในการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีนให้คล่องแคล่วและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.  นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงพยัญชนะต้น  g , k , h .  ตามหลักภาษาจีนกลางเบื้องต้นได้    (  K  )
2.  นักเรียนสามารถพูด อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น  g , k , h . ตามหลักการอ่านออกเสียงภาษาจีนเบื้องได้อย่างถูกต้อง
      และชัดเจน  (  P )
3.  นักเรียนปฏิบัติตามระเบียบการสอน และไม่ลอกการบ้าน  (  A  )

สาระการเรียนรู้
       ด้านความรู้  การเรียนรู้ภาษาจีนเบื้องต้นเกี่ยวกับพยัญชนะต้นนั้นได้ฝึกทักษะการอ่านออกเสียงพยัญชนะต้นอย่างถูกวิธีเพราะพยัญชนะต้นแต่ละคำนั้นเสียงที่เปล่งออกมาจะไม่เหมือนกัน เช่นพยัญชนะต้นคำว่า  g , k  , h . นั้นเสียงที่เปล่งออกมาจะออกมาทางช่องของลำคอ และเมื่อมีทักษะในการอ่านออกเสียงที่ถูกต้องแล้วการสื่อความหมายหรือการบอกความหมายเกี่ยวกับรูปภาพ หรือข้อมูลต่างๆย่อมชัดเจน และเป็นที่เข้าใจต่อผู้ที่สื่อสาร


      ทักษะ /  การบวนการ   เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการและที่มาของการอ่านออกเสียงพยัญชนะต้น g , k  , h .นักเรียนก็จะเข้าใจและมีทักษะในการอ่านออกเสียงพยัญชนะต้นได้อย่างถูกต้องและชัดเจนเมื่อมีทักษะการอ่านออกเสียงอย่างถูกต้องแล้วการติดต่อสื่อสารกับผู้คนหรือบอกความต้องการต่างๆย่อมเป็นที่เข้าใจต่อผู้ส่งสารและผู้รับสาร


      คุณลักษณะอันพึงประสงค์   ความสนใจใฝ่รู้ ความรอบคอบ การร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นความมีเหตุผล และการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์




กิจกรรมการเรียนรู้ที่  1
1.   ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ( 10 )
      ครูทบทวน สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ภาษาจีนกลาง และคำศัพท์ที่เรียนผ่านมาในภาคเรียนที่หนึ่งอีกครั้ง โดยโดยครูอ่านออกเสียง เนื้อหาดังกล่าวแล้วให้นักเรียนอ่านตาม จากนั้นให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน และสุ่มให้นักเรียนอ่านเนื้อหาดังกล่าวเป็นรายบุคคล
A:  爸爸(bàba)妈妈(māmā)
B:  爸爸(bàba)妈妈(māmā)
…………………………………………………….
A:  清你们再读一遍(qīngnǐmenzàidúyībiàn)
B:  爸爸(bàba)妈妈(māmā)
…………………………………………………….
A:  ()()(rén)(de)(xué)(shēng)()
B:  ()(ba)()()
…………………………………………………….
  
  1.1    ครูได้อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาของบทดังกล่าว ว่าบทนี้จะเรียนเน้นเกี่ยวกับพยัญชนะต้นของภาษาจีนของคำว่า
 g ,k , h . และครูได้พูดคำว่า “ ()(hǎo)” กับนักเรียนและนักเรียนทักทายครูด้วยคำว่า “  (nín)(hǎo)    จากนั้นครูได้ชี้ตัวเองแล้วพูดว่า   ()(shì)()(lǎo) (shī)  (ฉันคือคุณครู หลี่ ) ครูได้พูดประโยคดังกล่าวซ้ำ 3 -5 รอบ เพื่อให้นักเรียนได้ซึมซับกับประโยค ()(shì) ….(ฉันคือ)

2.   ขั้นกิจกรรม   (  30 )
2.2   ครูได้สอนคำว่า  “ kě  “ hē   แสดงการ์ดพินอินและอธิบายความหมายเพื่อให้นักเรียนจดจำพยัญชนะพินอิน    g , k , h .   หลังจากนั้นครูอ่านนำ 2 ครั้งและให้นักเรียนอ่านตาม และตามด้วยให้นักเรียนอ่านตามทีละคน ในขณะที่นักเรียนอ่านออกเสียงอยู่นั้นครูได้เดินฟังและสังเกตการอ่านออกเสียงเมื่อนักเรียนอ่านออกเสียงผิดครูได้รีบแก้ไขทันที จากนั้นครูได้หยิบการ์ดพินอินให้นักเรียนนักเรียนดูและให้นักเรียนอ่านออกเสียงอีกครั้งเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน
ฝึกเสียววรรณยุกต์ 4 เสียง  (shēng)(diào)(liàn)()
                     
                                               
 gū             gŭ      
         
 kū              kŭ    
                                               
                                                 hā          há        hă      hà
                                               
     hū              hŭ        

2.3   ครูได้เน้นคำว่า   ()  เป็นเสียงที่ 1   คำว่า  ()   เป็นเสียงที่   3  คำว่า     ()  เป็นเสียงที่ 1  คำว่า  () เป็นเสียงที่1
และคำว่า   ()  เป็นเสียงที่ 3   (   เพราะเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกันนั้นความหมายย่อมแตกต่างกันไป   )
2.4   หลักจากอธิบายเสร็จแล้วครูได้อ่านนำพินอินภาษาจีนและภาษาจีนให้นักเรียนฟัง 3 ครั้งเพื่อให้นักเรียนซึมซับกับคำศัพท์ดังกล่าวจากนั้นครูให้นักเรียนอ่านตาม ตามด้วยอ่านเป็นกลุ่ม และอ่านด้วยตนเองตามลำดับ เมื่อนักเรียนสามารถอ่านทุกคำได้ถูกต้องชัดเจนแล้ว ก็ให้นักเรียนอ่านรวดเดียวทั้งหมดพร้อมกัน  ครูให้นักเรียนฝึกฝนอ่านหลายๆครั้งและในระหว่างที่นักเรียนฝึกฝนอยู่นั้น ครูได้อธิบายความหมายของคำเพื่อให้นักเรียนอ่านออกเสียงได้ถูกต้องอย่างชัดเจน



3.    ขั้นสรุปบทเรียน  (10 นาที)           
3.1   ครูและนักเรียนทบทวนเนื้อหาที่เรียนผ่านมาอีกครั้ง  โดยครูอ่านนำ 1 ครั้งและให้นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมกัน
และครูมอบหมายให้นักเรียนฝึกฝนการอ่านออกเสียงในครั้งนี้เป็นการบ้าน
                                                       
4.  ขั้นฝึกฝนทักษะ /  ภาระชิ้นงาน  / ชิ้นงาน
4.1    ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในหนังสือแบบฝึกหัดภาษาจีน

5.   สื่อ /  อุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้
1. การ์ดพินอิน g , k  , h.
2. การ์ดสระและเสียงวรรณยุกต์
                                3. การ์ดภาพตัวละคร   (bān)()    ปัญญา    ()(lóng)     ต้าหลง     ()()   ลี้ลี้    ()   (fēn)   เฟิน 
แหล่งเรียนรู้
1. อักษรอ่านภาษาจีนแต่ละตัว
2. ใบกิจกรรม
3. หนังสือเรียน
4. ห้องสมุด
5. Internet
6.   กระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ผลงาน / ชิ้นงาน
1.  ใบงาน เรื่อง วาดภาพให้สอดคล้องกับคำศัพท์ภาษาจีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น